top of page
thairapthailand

ทางข้ามแบบไหน เสี่ยงมากน้อยกว่ากัน


ทางม้าลาย หรือทางข้ามสำหรับคนเดินเท้า (Pedestrian crossing) เป็นสิ่งอำนวยความปลอดภัย ที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการโดนรถชนขณะเดินข้ามถนน ทางม้าลายมีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยเฉพาะในบริเวณเขตเมืองหรือพื้นที่ชุมชนที่มีความหนาแน่นของคนเดินท้องถนน ซึ่งทางม้าลายสามารถแบ่งได้หลายประเภทตามองค์ประกอบที่ถูกติดตั้งเข้าไปพร้อมกัน เช่น สัญญาณไฟ ป้ายเตือน เกาะป้องกันขณะรอข้าม (Refuge) และการยกผิวทางสูง (Raised crossing)

.

จากงานวิจัยที่รวบรวมโดย iRAP ได้แสดงให้เราเห็นว่า ทางม้าลายแต่ละประเภทมีความน่าจะเป็น (Likelihood) ต่อความเสี่ยงในการชนที่ต่างกัน โดยทางม้าลายที่มีความปลอดภัยสูงสุดคือประเภท Signalised crossing with refuge ซึ่งจะประกอบด้วย สัญญาณไฟคนข้าม (Pedestrian-specific signal) ที่มีเขตทางข้ามที่ชัดเจน และเกาะป้องกันขณะรอข้าม (Refuge) ซึ่งมีความปลอดภัยมากกว่าทางม้าลายแบบปกติ ที่มีเพียงสัญลักษณ์บนผิวทาง (Marked crossing) และอุปกรณ์เตือน (Warning sign) กว่า 4.8 เท่า

.

รูปตาราง Risk factors แสดงให้เห็นว่า สัญญาณไฟคนข้ามถนนเป็นองค์ประกอบที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของคนข้ามทางม้าลายมาก การติดตั้งสัญญาณไฟคนข้ามเพิ่มเติมจะช่วยลดความเสี่ยงในการชนขณะข้ามถนนให้น้อยลงเกือบ 4 เท่า (ความเสี่ยงในการชนขณะข้ามจาก 4.80 เหลือ 1.25) เมื่อเทียบกับทางม้าลายปกติ เนื่องจากการมีสัญญาณไฟจะทำให้ผู้ขับขี่สังเกตุได้ถึงตำแหน่งของทางม้าลายได้ดีกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตอนกลางคืน

.

อย่างไรก็ตามทางม้าลายที่ปลอดภัยเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการลดความเสี่ยงและความสูญเสียต่อการชนคนข้ามถนนเท่านั้น หากเราต้องการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์อันน่าเศร้าของคนข้ามถนนที่โดนรถชนอีก การเคารพสิทธิ์ของคนเดินเท้า การหยุดรถก่อนถึงทางม้าลาย และการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดแก่ผู้กระทำความผิดจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่จะช่วยให้ทางม้าลายทุกประเภทเป็นทางข้ามที่ปลอดภัย และปราศจากการชนได้

.

เพราะทุกชีวิตมีค่า.....

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ : https://irap.org/methodology/

ดู 125 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page